วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13


🙇🙇 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 🙇🙇

💧💧💧💧💧💧💧💧

👍👍วันนี้อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษา และให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของแผนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมเคลื่อนไหว กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเกมการศึกษา กิจกรรมกลางแจ้งและกิจกรรมเสรี อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ต่างๆโดยห้ามหาจากเน็ต ให้เขียนตามความรู้เดิมที่เรามี และอาจารย์ยังกำหนดกิจหรรมต่างๆขึ้นมาแล้วให้นักศึกษาคิดว่ากิจกรรมนี้ นำไปใช้เขียนแผนอย่างไรได้บ้าง หรือวิธีการสอนแบบจับคู่ สามารถนำไปทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง โดยกิจกรรม หลัก 6 กิจกรรม ประกอบไปด้วย👍👍



💜💛กิจกรรมหลัก 6 กิจกรรมของเด็กปฐมวัยมีดังนี้💜💛
😀1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่างอิสระตามจังหวะ ซึ่งจังหวะและดนตรีที่ใช้ประกอบได้แก่ เสียงตบมือ เสียงเพลง เสียงเคาะไม้ เคาะเหล็ก รำมะนา กลอง ฯลฯ😀

😊2. กิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ ตัด ฉีก ปะ และประดิษฐุ์เศษวัสดุ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง😊

😅3. กิจกรรมเสรี เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้เล่นกับสื่อและเครื่องเล่นอย่างอิสระในมุมการเล่นกิจกรรมการเล่นแต่ละประเภทสนองตอบความต้องการตามธรรมชาติของเด็ก😅

😍4. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ฟัง พูด สังเกต คิด และปฏิบัติการทดลอง ให้เกิดความคิดรวบยอดและเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ด้วยวิธีการหลากหลาย เช่น การสนทนา ซักถามหรืออภิปราย สังเกต ทัศนศึกษา และปฏิบัติการทดลองตามกระบวนการเรียนรู้😍

😛5. กิจกรรมกลางแจ้ง เป็นกิจกรรมที่จัดให้เด็กได้ออกนอกห้องเรียนไปสู่สนามเด็กเล่นทั้งที่บริเวณกลางแจ้งและในร่มเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ โดยยึดเอาความสนใจ และความสามารถของเด็กแต่ละคนเป็นหลัก😛

😎6. กิจกรรมเกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่มีกระบวนการในการเล่นตามชนิดของเกมประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน😎




 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12


💙💚 บันทึกการเรียนครั้งที่ 12 💙💚

  💁วันนี้อาจารย์เปิดแผนการสอนของแต่ละกลุ่มแล้วอาจารย์ก็วิเคราะห์ว่าแต่ละกลุ่มนั้นจะต้องเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนแผนการสอนอย่างไรบ้าง
😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇😇

🍭🍭มาตรฐานที่ 1 ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีีสุขนิสัยที่ดี🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 มีสุขภาพอนามัยสุขนิสัยที่ดี
ตัวบ่งชี้ที่ 1.3 รักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น

🍭🍭 มาตรฐานที่ 2 กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่วประสานสัมพันธ์และทรงตัวได้
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ใช้มือ - ตา ประสานสัมพันธ์กัน

🍭🍭มาตรฐานที่ 3 มีสุขภาพจิตดีและมีความสุข🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น

🍭🍭มาตรฐานที่ 4 ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 สนใจ มีความสุข และแสดงออกผ่านงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
 
🍭🍭มาตรฐานที่ 5 มีคุณธรรม  จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ซื่อสัตย์สุจริต
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 มีความเมตตากรุณามีน้ำใจ และช่วยเหลือแบ่งปัน
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 มีความรับผิดชอบ

🍭🍭มาตรฐานที่ 6 มีทักษะชีวิตและปฎิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ช่วยเหลือตนเองในการปฎิบัติกิจวัตรประจำวัน
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 มีวินัยในตนเอง
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ประหยัดและพอเพียง

🍭🍭มาตรฐานที่ 7 รักธรมมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 ดูแลรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวบ่งชี้ที่ 7.2 มีมารยาทตามวัฒนธรรมไทยและรักความเป็นไทย

🍭🍭มาตรฐานที่ 8 อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฎิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในรับอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 ยอมรับคามเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น
ตัวบ่งชี้ที่ 8.3 ปฎิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม

🍭🍭มาตรฐานที่ 9 ใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 สนทนาตอบโต้และเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 อ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ได้

🍭🍭มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด
ตัวบ่งชี้ที่ 10.2 มีความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล
ตัวบ่งชี้ที่ 10.3 มีความสามารถในการคดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

🍭🍭มาตรฐานที่ 11 มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 11.1 ทำงานศิลปะตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรคื
ตัวบ่งชี้ที่ 11.2 แสดงท่าทาง / เคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างสร้างสรรค์

🍭🍭มาตรฐานที่ 12 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย🍭🍭
ตัวบ่งชี้ที่ 12.1 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ที่ 12.2 มีความสามารถในการแสวงหาความรู้




 

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11



😵😵 บันทึกการเรียนครั้งที่ 11 😵😵

🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

💕วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำโบชัวร์มาเพื่อทำหนังสือคำศัพท์💕





🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄🍄

🌺กลุ่มที่ 1 ของใช้ทั่วไป🌺

          


          

        


🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻


🌺กลุ่มที่ 2 อาหาร🌺

             

      

      



🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

💕ขั้นตอนการทำ💕

1.สังเกตดูว่าในโบชัวร์ที่นำมานั้น สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่อะไรได้ เช่น หากมีรูปของกินเยอะ อาจจะให้เป็นหมวดของกิน ถ้ามีเครื่องใช้ไฟฟ้าเยอะ ก็ให้เป็นหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.ตัดรูปภาพตามหมวดที่เรากำหนดขึ้น เช่น หมวดของกิน ก็ตัดแต่รูปของกิน

3.เมื่อเราได้รูปภาพแล้ว ก็เริ่มแปะลงในกระดาษ โดยในการแปะนั้นก็ต้องคำนึงถึงความเหมาะสม ความพอดี และความสวยงาม โดยเว้นขอบกระดาษ รูปภาพต้องอยู่บนคำศัพท์ 

4.หากเป็นหมวดของกิน ให้เขียนว่า ฉันชอบกิน...โดยมีรูปภาพพร้อมคำศัพท์ 

5.คำศัพท์ที่เขียนนั้น ควรเป็นปากกาที่สีแตกต่าง เช่น ฉันชอบกิน ซาลาเปา (ใช้ปากกาเน้นสีเพื่อให้เด็กรู้คำศัพท์)

6.ในหน้าสุดท้ายควรมีข้อควรระวังในแต่ละหมวด

7.จากนั้นทำการรวมเล่ม















บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

 🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴🌴

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10


🌸🌸สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำอุปกรณ์มาประดิษฐ์ตามหน่วยการเรียนรู้ โดยสิ่งที่ประดิษฐ์นั้นต้องมีความเป็น STEM และในการประดิษฐ์นั้น จะไม่ได้ทำของกลุ่มตนเอง ต้องทำของกลุ่มเอง เช่น หน่วยผีเสื้อต้องไปทำของหน่วยรักเมืองไทย ซึ่งกลุ่มของดิฉันก็ได้จัดอุปกรณ์ไว้ให้เพื่อนๆทำ ผีเสื้อ โดยให้มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของแรงโน้มถ่วงโลก โดยให้เพื่อนเลือกวัสดุในการทำปีก ได้แก่ ใบไม้ กระดาษ ถุงพลาสติก แล้วให้ลองโยนจากที่สูงจากนั้น สังเกตแล้วจดบันทึกว่า วัสดุชนิดใดที่ตกลงสู่พื้นช้าที่สุด และทำข้อสรุป

 🌸อุปกรณ์ทำผีเสื้อ🌸

1.กระดาษ   

2.ใบไม้      

3.ถุงพลาสติก     

4.หลอด      

5.กรรไกร    

6.สี      

7.กาว









😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈😈

💦💦กลุ่มของดิฉันได้ทำกระทง💦💦




















บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

 

🌼🌼 บันทึกการเรียนครั้งที่ 9 🌼🌼

🌸🌸🌸🌸🌸🌸🌸

🌸ในวันนี้อาจารย์เปิดคลิปการสอนของเพื่อนให้ดู แล้วอาจารย์ให้ช่วยกันวิเคราะห์และอาจารย์บอกถึงวิธีการสอนว่าการสอนที่ดี ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร วิธีการอ่านต่างๆ ข้อควรระวังและการใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัยว่าควนใช้คำถามในรูปแบบหรือลักษณะไหน 

        🌸การใช้คำถามเป็นกิจกรรมที่ใช้อยู่เสมอในการเรียนการสอนเพื่อยั่วยุให้ผู้เรียน ใช้ความคิดทั้งในด้านเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนเข้าร่วมกิจกรรม ครูจะต้องใช้คำถามอยู่เสมอและคำถามที่ใช้ควรเป็นคำถามที่มีประสิทธิภาพ ใช้สนองความต้องการเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา และเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ซึ่งมักพบว่าครูผู้สอนมักใช้คำถามไม่เป็น หรือใช้เฉพาะคำถามที่ผู้ตอบต้องใช้ความจำ เป็นส่วนใหญ่ ข้อบกพร่องต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อการเรียนการสอนมาก จำเป็นที่จะต้องพยายามฝึกทักษะการใช้คำถามให้มีประสิทธิภาพ
                🌸ทักษะการใช้คำถามมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ ครูปฐมวัยควรฝึกทักษะการใช้คำถาม 
             1. ใช้เป็นสื่อสำหรับสำรวจและทบทวนพื้นความรู้เดิมและประสบการณ์เดิมของนัก เรียน คำตอบของนักเรียนจะเป็นสื่อนำไปสู่การเรียนการสอนบทเรียนใหม่และประสบการณ์ ใหม่
             2. ใช้กระตุ้นความสนใจของนักเรียน ครูอาจใช้คำถามเพื่อเร้าความสนใจของนักเรียนได้ทุกขั้นตอนในการเรียนการสอน เช่น การใช้คำถามเพื่อเริ่มต้นบทเรียน ถามให้นักเรียนสังเกต ให้ยกตัวอย่าง ใช้เป็นสิ่งเชื่อมโยงหรือเริ่มต้นการสนทนาระหว่างครูกับนักเรียน เพราะนักเรียนจะตอบคำถามของครูได้หากสนใจเรียนตลอดเวลา
             3. ใช้เสริมสร้างความสามารถทางความคิดให้แก่นักเรียน ช่วยให้นักเรียนฝึกคิดหาคำตอบ หาเหตุผล และหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
             4. คำถามที่ดีจะช่วยให้มีการอภิปรายต่อเนื่อง เป็นการขยายความคิดและแนวทางในการเรียนรู้และข้อสรุปหลักเกณฑ์ใหม่ ๆ 
             5. การใช้คำถาม ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เช่น ทำให้นักเรียนมีโอกาสตอบคำถาม เสนอความคิดเห็นและตั้งคำถาม รวมทั้งได้ร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย
             6. ช่วยให้นักเรียนพยายามค้นคว้าหาความรู้ใหม่เพิ่มเติมเพื่อที่จะนำมาตอบคำถามของครู
             7. ใช้ช่วยทบทวนหรือสรุปบทเรียนให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน
             8. ใช้ช่วยประเมินผลการเรียนของนักเรียนและการสอนของครู

💥ภาพกิจกรรม💥









บันทึกการเรียนครั้งที่ 8


🌸🌸บันทึกการเรียนครั้งที่ 8🌸🌸

💛💛💛💛💛💛💛💛

อาจารย์มีกิจกรรม STEM มาให้นักศึกษาได้ทำ คือ การทำสไลเดอร์ โดยต้องมีการไหลของวัตถุที่ช้าที่สุด
อุปกรณ์ มีดังนี้

1. หลอดจำนวน 25 แท่ง
2. เทปใส
3. ดินน้ำมัน (คือวัตถุที่เคลื่อนไปบนหลอด)
4. กระดาษไว้สำหรับออกแบบโครงร่างหลอด

🌻 กติกา

- ให้สร้างสไลด์เดอร์โดยให้ใช้หลอดให้ครบ 25 อัน
- สไลด์ต้องทรงตัวอยู่กับที่เองได้ โดยไม่ใช้คนจับ
- ต้องใช้ลูกบอลกลิ้งให้ลงได้ช้าที่สุด

                                💛💛💛💛💛💛💛💛

                                            ภาพกิจกรรม










บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

 


👇👇 บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 👇👇

ในสัปดาห์อาจารย์ให้นักศึกษาอัดคลิปแผนการสอนของกลุ่มตัวเอง 











บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 


👸👸 บันทึกการเรียนครั้งที่ 6 👸👸

👼👼👼👼👼👼

วันนี้อาจารย์ให้นีกศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการเรียนการสอนทั้ง 6 รูปแบบ

การจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป (High Scope)
        เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือทำผ่านมุมกิจกรรมที่หลากหลาย ที่มีสื่อและการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กเป็นตัวช่วย โดยปล่อยให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่าง ๆ อย่างอิสระด้วยตัวเอง มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีของเพียเจท์  ที่ว่าด้วยการพัฒนาทางสติปัญญา ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเด็กสามารถสร้างความรู้ได้เองโดยใช้กระบวนการสร้างสรรค์การเรียนรู้  ผ่านการกระทำของตน และการประเมินผลงานอย่างมีแบบแผน

💗 หัวใจของไฮ/สโคป ประกอบด้วยกระบวนการ 3 กระบวน

      1. การวางแผน (Plan) เป็นการให้เด็กกำหนดแนวทางการปฏิบัติ หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือตามสิ่งที่ตัวเองสนใจ โดยคุณครูจะต้องเปิดโอกาสให้เด็กสนทนากับครู หรือสนทนาระหว่างเพื่อนด้วยกัน เพื่อวางแผนการทำงานอย่างเหมาะสม ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กต้องมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ ซึ่งอาจจะบันทึกด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูช่วยบันทึกก็ได้ ซึ่งกระบวนการนี้จะช่วยส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็กและความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กสนใจในกิจกรรมที่ตนเองได้วางแผนไว้
      2. การปฏิบัติ (Do) คือ การให้เด็กลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้อย่างอิสระตามเวลาที่กำหนด โดยเน้นให้เด็กได้ช่วยกันคิด ทดลองและแก้ปัญหาร่วมกันอย่างมีจุดมุ่งหมาย ได้เรียนรู้ตามประสบการณ์ ค้นพบความคิดใหม่ๆ โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะและให้คำแนะนำ มากกว่าจะลงไปจัดการด้วยตัวเอง การทบทวน
       3. (Review) คือกระบวนการที่ให้เด็กสะท้อนผลงานของตัวเองที่ได้ลงมือทำผ่านการพูดคุยหรือแสดงผลต่างๆ เพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง

💬 องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบไฮ/สโคป ต้องคำนึงถึง 6 องค์ประกอบ

        1. เปิดโอกาสให้เด็กเป็นผู้ริเริ่มในการเลือกและตัดสินใจทำกิจกรรมและใช้เครื่องมือต่างๆตามความสนใจของตัวเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากกว่าได้รับการบอกต่อความรู้จากผู้ใหญ่

        2. จัดเตรียม สื่อและวัสดุอุปกรณ์ ในห้องเรียนให้มีความหลากหลาย และเหมาะสมกับอายุของเด็ก เพื่อให้เด็กมีโอกาสเลือกวัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ และควรมีการจัดเก็บอย่างเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานของเด็ก ซึ่งองค์ประกอบนี้ช่วยให้เด็กรู้จักการเชื่อมโยงการกระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหามากขึ้น

        3. พื้นที่และเวลาในห้องเรียนแบบไฮ/สโคป ต้องมีพื้นที่เพียงพอต่อการทำกิจกรรมของเด็ก ทั้งการทำกิจกรรมคนเดียวและการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม รวมถึงมีการจัดมุมประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ผ่านบทบาทสมมุติในมุมประสบการณ์ต่าง ๆ และควรจัดสรรเวลาในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละวันให้เพียงพอ โดยไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะช่วยให้เด็กรู้จักการรักษาเวลาอีกด้วย

       4. เน้นให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับวัตถุและนำไปสู่การเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์ และความเกี่ยวข้องของวัตถุนั้นได้ด้วยตัวเอง

       5. ภาษาจากเด็ก เป็นสิ่งที่เด็กสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็กออกมาเป็นคำพูด ซึ่งเด็กมักจะเล่าว่าตนเอง กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วในแต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษาเพื่อสื่อความคิด เด็กจะรู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น

      6. ครูคือผู้สนับสนุนและชี้แนะ ซึ่งครูในรูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบไฮ/สโคปนั้น จะต้องเป็นบุคคลที่คอยรับฟังและส่งเสริมให้เด็กคิด ทําสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง และเป็นผู้สร้างสรรค์ห้องเรียนเพื่อให้เด็กได้พบกับประสบการณ์สําคัญมากมาย ในชิวตประจำวันอย่างเป็นธรรมชาติ

การจัดการเรียนการสอนแบบ มอนเตสซอรี่

       เป็นแนวคิดที่เน้นเด็กเป็นหลักสำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้อย่างอิสระ และซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ทำให้เด็กเกิดความอยากรู้ อยากเห็นและแสวงหาความอยากรู้อย่างมีสมาธิ มีวินัยในตัวเองและเกิดพัฒนาการทุก ๆ ด้านในเวลาเดียวกัน

💜 หลักการสอนของมอนเตสซอรี่
เด็กได้รับการยอมรับนับถือ 
          เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
- จิตซึมซับ
      เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต
        เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม
        เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง
       เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล
       คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน

การสอนแบบสืบเสาะ
        เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่นักเรียนจะต้องสืบค้น เสาะหา  สำรวจตรวจสอบ และ ค้นคว้าด้วยวิธีการต่างๆ จนทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจ และ เกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย จึงจะสามารถสร้างเป็นองค์ความรู้ของนักเรียนเอง และเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน สามารถนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใดๆ มาเผชิญหน้า
กระบวนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 5Es
        1. ขั้นสร้างความสนใจ (engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเอง หรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่อง ที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษาในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่างๆ หรือเป็นผู้กระตุ้น ด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อน แต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็น   ที่ต้องการศึกษาจึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่จะ ช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่อง หรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย
        2. ขั้นสำรวจและค้นหา (exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลอง ทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป
       3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่างๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนสมมติฐานที่ตั้งไว้โต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้
        4. ขั้นขยายความรู้ (elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติมหรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มาก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น
        5. ขั้นประเมิน (evaluation)เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไรและมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งเนื้อหาหลัก และหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติเพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

การจัดการเรียนรู้แบบ Project Approach

        เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน

💚 การสอน 3 ระยะของ Project Approach

ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ

         คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป

ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ

        ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการ

ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ

          เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป

การจัดการเรียนการสอน STEM

        เป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการกลุ่มสาระและทักษะกระบวนการของทั้ง 4 สาระ อันได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ โดยนำลักษณะธรรมชาติของแต่ ละสาระวิชาและกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนมาผสมผสานกันเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่สำคัญ



Science(วิทยาศาสตร์) จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (InquiryProcess) ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน 
  1. ขั้นการสร้างความสนใจ เป็นขั้นของการนำเข้าสู่บทเรียน  
  2. ขั้นสำรวจและการค้นหา  
  3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป   
  4. ขั้นขยายความรู้ เป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม ขึ้น 
  5. ขั้นการประเมิน เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด

เทคโนโลยี (Technology) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2557) ระบุขั้นตอนในกระบวนการทางเทคโนโลยีประกอบด้วย 7 ขั้นดังนี้ 
  1. กำหนดปัญหาหรือความต้องการ 
  2. รวบรวมข้อมูล โดยอาจจะรวบรวมข้อมูลจากตำรา วารสาร บทความ อินเทอร์เน็ต 
  3. เลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาเลือกวิธีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ปัญหา 
  4. ออกแบบและปฏิบัติการ 
  5. ทดสอบ เป็นการตรวจสอบว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ 
  6. ปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นจะปรับแก้ไขส่วนใด 
  7. ประเมินผล เป็นการประเมินผลว่าชิ้นงานหรือวิธีที่สร้างขึ้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)  กระบวนการออกแบบของวิศวกรรมศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 
  1.กำหนดปัญหา หรือความต้องการ 
  2.หาแนวทางการแก้ปัญหา 
  3.ลงมือปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา 
  4.ทดสอบและประเมินผล

คณิตศาสตร์ (Mathematics)  สำหรับสาระและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์จะครอบคลุมเรื่องจำนวนและกระบวนการ การวัด เรขาคณิต พีชคณิต การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น และ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การสอนแบบวอลดอร์ฟ (Waldorf)

          การเรียนการสอนตามแบบวอลดอร์ฟเป็นวิธีการตามแบบธรรมชาติ  เป็นไปตามบรรยากาศของชุมชนและตารางกิจกรรมประจำวัน  ที่ครูและผู้เรียนจะเรียนรู้ร่วมกันตามความสนใจของเด็ก  วิธีการจัดการเรียนการสอนจะเป็นการจัดกระทำทั้งระบบตั้งแต่บรรยากาศของโรงเรียน  สิ่งแวดล้อมและห้องเรียนต้องเป็นไปตามวิถีธรรมชาติ  รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของครู  ในขั้นตอนการสอนของครูจะมีลักษณะเฉพาะต่างจากการเรียนการสอนแบบอื่น ๆ  ตรงที่การกระตุ้นการเรียนรู้เริ่มจากการแสดงแบบให้เด็กเห็นตามบรรยากาศที่จูงใจ

บทบาทครู ( 3 R )
  1. การทำซ้ำ (Repetition) เพื่อให้เกิดมั่นคง ครูควรทำกิจกรรมการเรียนการสอนและงานบ้านต่างๆอย่างสม่ำเสมอ หรือเรียกว่าการทำซ้ำ
  2. จังหวะ (Rhythm) เพื่อให้สิ่งแวดล้อมมีบรรยากาศอบอุ่นและผ่อนคลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยเด็ก ครูควรจัดตารางประจำวัน ตารางกิจกรรมในสัปดาห์ และเทศกาลประจำปี ให้สอดคล้องกับจังหวะที่ราบรื่นแบบลมหายใจเข้าและออก ให้ตารางของช่วงนั้นๆเหมาะสมลื่นไหล ไม่อัดแน่นหรือติดขัด หรือเรียกว่า การรักษาจังหวะ หรือ ความรู้สึกแบบท่วงทำนอง
  3. เคารพ (Reverence) ด้วยความตระหนักรู้ที่ว่า “มนุษย์เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” ทำให้เราอยู่ในโลกด้วยความรู้สึกกตัญญูและเคารพต่อธรรมชาติ ทั้งยังเคารพต่อศักยภาพของความเป็นมนุษย์
👼👼👼👼👼👼

รูปภาพกิจกรรม



















บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

🙇🙇 บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 🙇🙇 💧💧💧💧💧💧💧💧 👍👍วันนี้อาจารย์ได้บอกแนวข้อสอบให้นักศึกษา และให้นักศึกษาเขียนวัตถุประสงค์ของแผนต่างๆ ...